ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

คำอธิบาย
ร่วมเรียนรู้และสืบสานแนวพระราชดำริและผลสำเร็จของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนานไปสู่เยาวชน สถาบันการศึกษาและชุมชนในทุกภูมิภาคของประเทศ



ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้

ตั้งอยู่ที่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ห่างอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด ๑๓,๓๐๐ ไร่ การดำเนินงานแบ่งเป็น พื้นที่พัฒนาการเกษตรประมาณ ๒,๓๐๐ ไร่ พื้นที่เขตปริมณฑลเพื่อการพัฒนาป่าไม้ประมาณ ๑๑,๐๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีชื่อว่า ป่าภูล้อมข้าวและป่าภูเพ็ก

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสกลนคร
ประวัติความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนพ.ศ 2525 บ้านนานกเค้าตำบลห้วยยางอำเภอเมืองจังหวัดสกลนครศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้เริ่มดำเนินการในปี 2527

โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานที่ทำการศึกษาทดลองแบบเบ็ดเสร็จทั้งการพัฒนาที่ดินการพัฒนาแหล่งน้ำการฟื้นฟูสภาพป่าการวางแผนปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรและผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมศึกษาค้นคว้าฝึกอบรมความรู้เพิ่มเติมและนำไปปฏิบัติได้เพื่อพัฒนาอาชีพในพื้นที่ทำมาหากินของตนเองให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริทำหน้าที่เสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จของการศึกษาค้นคว้าทดลองสาธิตและการพัฒนาด้านเกษตรกรรมเป็นระบบบริการเบ็ดเสร็จที่จุดเดียวเพื่อขยายผลสู่เกษตรกร

การพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
ได้จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้ชลประทานทั้ง 5 อย่างโดยมีการพัฒนาแหล่งน้ำมีอยู่ 2 รูปแบบคือ
1 พื้นที่ในเขตชลประทานคือการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำมีอยู่ 15 อ่างที่เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานเป็นผู้ดูแล
2 พื้นที่นอกเขตชลประทานโดยการขุดสระทฤษฎีใหม่และการขุดบ่อประมงเจาะบาดาลในพื้นที่ราษฎรเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค


การพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ป่าไม้  1, 1000 ไร่
กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า

ราษฎรมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่าโดยรอบซึ่งแบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็น 8โซน8 หมู่บ้านในพื้นที่ 1000 ไร่ก่อให้เกิดสำนึกในการป้องกันอนุรักษ์ป่าเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าส่งผลให้ป่าฟื้นฟูสมบูรณ์ขึ้นอย่างยั่งยืน

การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนทั่วไปรักและหวงแหนในทรัพยากรป่าไม้โดยเริ่มจากการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธารตลอดจนการปลูกป่าในลักษณะต่างๆเช่น
1 ปลูกต้นไม้ในใจคน  
2 ปลูกป่าต้นน้ำลำธารหรือปลูกป่าธรรมชาติ  
3 ปลูกป่าทดแทนในพื้นที่เสื่อมโทรม   
4ปลูกป่า 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง

การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า
     ได้มีการจำลองเนื้อที่เป็นสวนสัตว์ 60 ไร่ มีสัตว์ป่าที่เป็นสัตว์ป่าสงวนเช่นหมูป่าเนื้อทรายและอื่นๆ



การพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน
มุ่งเน้นใช้หลักธรรมชาติแก้ไขปัญหาปรับปรุงอนุรักษ์ดินให้เหมาะสมสำหรับการเกษตรที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่โดยวิธีการต่างๆได้แก่
การใช้ปุ๋ยหมัก
การใช้ปุ๋ยพืชสด
การปลูกพืชหมุนเวียน
การปลูกหญ้าแฝกป้องกันหน้าดิน

การพัฒนาด้านเกษตรกรรม
กิจกรรมพืชสวน

กิจกรรมพืชสวนได้ทดสอบพันธุ์ไม้ผลที่เหมาะสมกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น  ลิ้นจี่ นพ.1
ลําไยอีดอ  และ แห้ว ส้มโอ มังคุด ละมุด ลำไย เงาะ ทุเรียนเทศ สะตอปักษ์ใต้สับปะรดเป็นต้นยางปลูกไม้ผลหายากเช่นอะโวคาโดโกโก้

กิจกรรมพืชไร่
ศึกษาวิจัย
ได้ศึกษาระบบการปลูกพืชไร่แบบยั่งยืนโดยใช้ระบบหมุนเวียน
ศึกษาการใช้หญ้าแฝกป้องกันการชะล้างพังทลายหน้าของหน้าดินในการปลูกพืชไร่บนพื้นที่ลาดเอียง
ศึกษาการใช้สบู่ในการทดแทนพลังงาน
ศึกษาการปลูกมันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์
ศึกษาการควบคุมวัชพืชโดยใช้ชีวิธี

กิจกรรมเพาะเห็ด

ศึกษาและทดลองหาวัสดุที่เหมาะสมในท้องถิ่นมาทำการเพาะเห็ด ฝึกอบรมสาธิตการทำเชื้อเห็ดจะมีการเพาะเห็ดจากฟางข้าวและขี้เลื่อยยางพาราปัจจุบันสามารถปรับปรุงวิธีการเพาะเห็ด 3 ชนิดได้แก่
การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ  ได้แก่ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า
การเพาะเห็ดสมุนไพร   ได้แก่ เห็ดหลินจือ เห็ดหอม
การเพาะเห็ดพื้นบ้าน     ได้แก่ เห็ดขอนขาว เห็ดตีนแรด เห็ดบด
กิจกรรมหม่อนไหม
มีการส่งเสริมทันไหมซึ่งมีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ ไหมพันธุ์นางตุ๋ยและไหมอีรี่

กิจกรรมยางพารา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้ศึกษาศักยภาพการปลูกสร้างสวนยางในเขตปลูกยางใหม่ในพื้นที่ 17 ไร่และเป็นตัวอย่างการปลูกสร้างสวนยางพาราให้แก่เกษตรกรโดยได้พันธุ์ดี 3 สายพันธุ์ได้แก่
ยางพาราพันธุ์ R R I M 600
ยางพาราพันธุ์ gt1
ยางพาราพันธุ์ PR 255

กิจกรรมศึกษาและพัฒนาระบบเกษตรผสมผสาน
ก็จะมี 
1 การเลี้ยงกบบนบ่อซีเมนต์หรือกบคอนโด
2 มะเขือหยวกภูพาน
3 การเลี้ยงหมูดํา
4 ฟักข้าว
5 กวางรูซ่า

งานศึกษาและพัฒนาด้านข้าว
ศึกษาและวิจัยการปลูกข้าวพันธุ์สกลนครและพันธุ์อื่นๆที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในเขตภาคอีสานข้าวพันธุ์สกลนคร

การพัฒนาด้านปศุสัตว์

ก็จะมีกวางรูซ่า  สุกรภูพาน ไก่ดำภูพาน  โคเนื้อภูพาน

การพัฒนาด้านประมง

กิจกรรมประมงได้มีการทดลองการแปลงเพศปลานิลมีการสาธิตการเลี้ยงปลาในบ่อแบบต่างๆและได้มีการทำประมงแบบผสมผสานเป็นต้น

การพัฒนาด้านสาธารณสุข

งานส่งเสริมด้านสาธารณสุขให้บริการนวดตัวนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพทั้งนี้ได้มีการจัดฝึก สำหรับผู้ที่สนใจและยังมีผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเช่นยาหม่องน้ำมันไพล ยาดม เทียนตะไคร้หอม ลูกประคบเป็นต้นภายในพื้นที่ยังมีการจัดสวนสาธิตสมุนไพรซึ่งได้รวบรวมเอาสมุนไพรกว่า 280 ชนิด

การพัฒนาอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว

ได้มีการส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร 22 หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานในพระราชดำริเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมแก่เกษตรกรได้และสามารถนำไปเป็นอาชีพหลักในการเลี้ยงชีพได้ด้วย


การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ นี้ มีหน่วยราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยร่วมรับผิดชอบ เช่น กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น กิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ครอบคลุมทุกด้านที่มีผลต่อการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมอันเหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ ได้แก่

1. งานชลประทาน สร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยตาดไฮใหญ่ อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก ฝายกักเก็บน้ำจากต้นน้ำลำธาร แนะนำการจัดระบบส่งน้ำและการใช้น้ำแก่เกษตรกร

2. งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรม ศึกษาทดลองวิธีการที่ได้ผลในการเพิ่มผลผลิตและรายได้ เช่น ศึกษาทดสอบเลือกสายพันธุ์ข้าว พืช และไม้ผลที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าว พืช และไม้ผลที่เหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าว พืชไร่ พืชสวน เป็นต้นว่า เงาะ ลำไย ทุเรียน น้อยหน่า หม่อนไหม ยางพารา เห็ด การจัดระบบการทำฟาร์ม การศึกษาวิธีแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร

3. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่ทรุดโทรม ปลูกและบำรุงป่าธรรมชาติ ส่งเสริมการปลูกป่าทดแทน ส่งเสริมการปลูกหวายดง ไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ตลอดจนการเพาะเลี้ยงครั่ง ควบคุมและป้องกันไฟป่า

4.งานส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการประมงศึกษาทดลองและพัฒนาการประมงน้ำจืด ส่งเสริมการเลี้ยงปลาบ่อ และในกระชังในอ่างเก็บน้ำ

5. งานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ ปรับปรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ศึกษาและทดลองการเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารสัตว์ เช่น ส่งเสริมการปลูกกระถินเป็นรั้วบ้าน ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาด้า การจัดการด้านการเลี้ยงสัตว์ และวิธีแก้ปัญหา เช่น การป้องกันและกำจัดโรคของสัตว์

6. งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน อนุรักษ์ดินและน้ำวิจัยทดสอบ ถ่ายทอดความรู้แก่ราษฎรเพื่อให้พัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์

7. งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน แนะนำฝึกอบรม ส่งเสริมความรู้ด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น การตีเหล็ก ผลิตมีด และเครื่องมือเกษตร ฝึกอบรมย้อมสีด้าย ทอผ้า เพื่อให้ราษฎรทำเครื่องใช้ในครัวเรือนเป็นการประหยัด หรือเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้

8. งานส่งเสริมการเกษตร นำความรู้ด้านเกษตรที่ศึกษาทดลองได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว เผยแพร่แก่เกษตรกรให้นำไปปฏิบัติด้วยตนเอง

9. งานศึกษาและพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่างจัดระเบียบชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐานจัดตั้งและพัฒนาองค์กรประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์

10. งานฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎรในหมู่บ้านรอบศูนย์ และราษฎรในจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้นำความรู้ไปพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต

ในการเข้าศึกษาดูงาน “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและพุทธศิลป์ถิ่นสกลนคร” ในครั้งนี้ จุดประสงค์หลักในการเข้าศึกษาดูงานคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยทางคณะผู้เข้าศึกษาดูงานได้รับการต้อนรับจากทางศูนย์เป็นอย่างดี และทางศูนย์ได้นำเข้าชมกิจกรรมภายในศูนย์จนครบทุกกิจกรรม
ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากการสอบถาม และเปลี่ยนความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ วัตถุประสงค์ และหน้าที่หลัก การขยายองค์ความรู้สู่ประชาชน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้นำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารมาช่วยเผยแพร่ กระจายข้อมูล องค์ความรู้ต่าง ๆ ให้กับประชาชน เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ แผ่นพับ โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้ทราบและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นห่วงพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าโดยเฉพาะเกษตรกรที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

ความคิดเห็น